วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

บทอัศจรรย์: ศิลปะของการแสดงออกทางเพศในวรรณคดี

อาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ ได้กล่าวไว้ในการบรรยายวิชาวรรณคดีวิจารณ์ ณ คณะอักษณศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า "วรรณคดี คือ เรื่องซึ่งเขียนขึ้นอย่างมีศิลปะของการนิพนธ์ เขียนขึ้นเป็นเรื่องราว มีความยาวทำให้เข้าใจเรื่องได้" ดังนั้น ข้อความซึ่งเป็นบทกลอน และมีเนื้อเรื่องพอเป็นที่เข้าใจ ประกอบไปด้วยศิลปะของการเรียบเรียงคำที่ทำให้เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ ก่อเกิดจินตนาการแก่ผู้อ่าน เราจึงจัดว่าเป็น "วรรณคดี" ด้วยกันทั้งสิ้น

วรรณคดีทุกเรื่องไม่ว่าจะกล่าวถึงสิ่งใด ก็จะกล่าวถึงสิ่งนั้นด้วยการใช้วรรณศิลป์ที่งดงาม ชวนให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกไปกับกวี ดังคำกลอนของสุนทรภู่ ที่ว่า

"เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตรลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์"

บทประพันธ์ข้างต้นนับว่าเป็นวรรณคดี เพราะให้ความรู้สึกลึกซึ้ง แสดงให้เห็นความใกล้ชิดของสุนทรภู่ที่มีต่อรัชกาลที่ 2 เมื่อสิ้นพระองค์ สุนทรภู่ก็พลอยสิ้นสุขไปด้วย เช่นเดียวกันกับเมื่อกล่าวถึงการสังวาสในวรรณคดี กวีก็จะกล่าวโดยใช้ถ้อยคำอย่างมีวรรณศิลป์ งดงามตามหลักของภาษา

การสังวาสในวรรณคดีไทยมักมีบทอัศจรรย์ แทรกอยู่ด้วย เรื่องความรักและเพศสัมพันธ์เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ในการพรรณนาฉากรักฉากพิศวาสของตัวละครหญิงชาย กวีไทยไม่นิยมกล่าวตรงไปตรงมา แต่จะกล่าวถึงโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบหรือใช้ สัญลักษณ์แทนบทนี้เรียกว่า “บทอัศจรรย์” กล่าวคือกวีใช้ธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์แทนการแสดงพฤติกรรมทางเพศ บทอัศจรรย์จึงเป็นบทที่ต้องใช้ความสามารถในการแต่ง เพื่อให้เป็นงานศิลปะมิใช่อนาจาร

แต่ก่อนอื่นที่เราจะลงลึกถึงความงามดังกล่าว ก็จะขอใช้เวลาเพียงเล็กน้อยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงคำว่า "บทอัศจรรย์" เสียก่อน นั่นคือ บทที่พระนางมีเพศสัมพันธ์กัน ซึ่งกวีแต่ละท่านจะมีลีลาในการนำเสนอ โดยใช้ภาษาและสิ่งสมมุติที่แตกต่างกัน บ้างก็ใช้ลักษณะของลมพายุ คลื่น ทะเล บ้างก็ใช้ผีเสื้อกับดอกไม้ ถือว่าเป็นการนำเสนอศิลปะอย่างหนึ่งของกวี เพราะกวีจะไม่นำเสนอแบบตรงไปตรงมา ผู้อ่านไม่สามารถแปลความตามตัวอักษรได้ ต้องอาศัยจินตนาการ ดังขอยกตัวอย่างจากบทอัศจรรย์ในขุนช้างขุนแผน พลายแก้วกับนางพิมพ์
"สนิทหลับรับขวัญเจ้าทั้งหลับ ดังยิ้มรับให้พี่มาร่วมหมอน
โฉมแฉล้มแย้มยิ้มพริ้มเพรางอน งามเนตรเมื่อเจ้าค้อนพี่ยามชม
คอคางบางแบบกระทัดรัด เล็กยาวขาวขัดดูงามสม
ไม่พร่องบกอกนางอล่างนม ค้อยผงมสงวนต้องประคองทรวง ๚"

"ประเดี๋ยวจับประเดี๋ยวจูบเฝ้าลูบชม แก้มกับนมนี่เจ้าชื้อมาหรือขา
ทำเล่นเหมือนเป็นเชลยมา ฟ้าผ่าเถอะไม่ยั้งไม่ฟังกัน
จะหยิกเท่าไรก็ไม่เจ็บ ฉวยเล็บมาจะหักให้สะบั้น
อุยหน่าอย่าทำสำคัญ ฟาดฟันเอาเถิดไม่น้อยใจ
ทำเล็บหักเหมือนไม่รักพี่จริงจัง ถึงเงินชั่งหนึ่งหารักเท่าเล็บไม่
เข้าชิดสะกิดพิมยิ้มละไม อุ้มแอบอกไว้ด้วยปรีดา ๚"

ต่อมาขอยกตัวอย่างบทอัศจรรย์ในเรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งนับว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่มีบทอัศจรรย์เป็นผู้ชาย 1 ผู้หญิง 2 นับว่าเป็นความแปลกในวรรณคดีไทยอย่างมาก จึงขอท้าวความเนื้อเรื่องเดิมเล็กน้อยก่อน เพื่อให้ผู้อ่านทั้งหลายเข้าใจ เรื่องเกิดขึ้นเมื่อพระลอ พร้อมพี่เลี้ยงนายแก้วนายขวัญ ตามไก่มาแล้วปลอมตัวหลบเข้าไปเที่ยวในสวนของเพื่อนแพงด้วยหัวใจระอุด้วยไฟรัก เพื่อนแพงรบเร้าให้นางรื่นนางโรยเดินทางไปตามหาพระลอที่สวน มาพบกับนายแก้วนายขวัญที่กำลังเล่นน้ำอยู่ในสระ ยังไม่ทันจะถามชื่อแซ่กันด้วยซ้ำเกี้ยวพาราสีอยู่ไม่นานก็ชวนกันเสพสังวาสในสระนั้นแล ในระหว่างเล่นน้ำในสระด้วยกันนั้น โคลงแต่ละบทเปรียบเทียบและใช้สัญลักษณ์ในทางสังวาสได้อย่างงดงามทุกโคลง ไม่เชื่อ ลองอ่านดู...

๏ นางโรยนางเรียกด้วย.............คำงามขวัญอ่อนดั่งขวัญกาม...............ยั่วแย้มใบบัวหนั่นหนาตาม...................กันลอด ไปนาหอมกลิ่นบัวรสแก้ม..................กลิ่นแก้มไกลบัว๏ ใบบัวบังข้าขอบ...................ใจบัวดอกดั่งจะหัวรัว......................เรียกเต้าเชยชมภิรมย์ชัว......................ซมซาบ บัวนาถนัดดั่งเรียมชมเจ้า.................พี่เหล้นกับตน

๏ บัวนมบัวเนตรหน้า...............บัวบานบัวกลิ่นขจรหอมหวาน..............รสเร้าบัวสมรละลุงลาญ....................ใจบ่า นี้นาบัวบาทงามจวบเท้า..................เกศแก้วงามจริง๏ โกมุศกาเมศแก้ว...................โกมล พี่เอยหอมกลิ่นจงกลกล...................กลิ่นแก้วจงกามินีปน...........................รสร่วม กันนาจงกอบอย่ารู้แคล้ว.................ก่อเกื้อกรีฑา๏ สรนุกบัวซ้อนดอก...............บัวพระ พี่นาปลาช่อนปลาไซ้พระ................ดอกไม้สลิดโพตะเพียนพะ..................กันชื่น ชมนารวนเพรียกแนมหลิ่งไสร้...........เหยื่อหย้ามฟูมฟอง๏ สนุกข้างนี้แนบ....................จอมใจ พี่เอยสองสนุกกันใน........................ฝ่ายนั้นทำขวัญสนุกใด.......................จักดุจ นี้เลยหนีซอกซอนซ้ำหั้น....................เชิดชู้เทียมรงค์

ต้องยกมาให้อ่านกันยาวๆ เพื่อก่อให้เกิดจินตนาการอันบรรเจิด แล้วลองมาไล่จินตนาการกันซักหน่อย โคลงสามบทแรกที่ยกมา เป็นการปูพื้นและเกี้ยวพาราสีก่อนที่จะเสพสังวาสกัน โดยการใช้บัวในสระที่ลงอาบน้ำด้วยกันเป็นสัญลักษณ์ ใช้ภาษาที่งดงามและยั่วเย้าให้เกิดอารมณ์ทางเพศสูงยิ่ง ถ้าได้อยู่ในสระน้ำตรงนั้น ใครเล่าจะอดใจไหวมีข้อสังเกตตรงนี้หน่อยหนึ่ง ตามท้องเรื่อง นางรื่นนางโรยไปพบนายแก้วนายขวัญนั้น พอปะหน้าก็เกิดความเสน่หายังไม่ทันจะถามไถ่ชื่อแซ่ด้วยซ้ำ บทสังวาสก็เริ่มต้น ทันสมัยจริงๆ เพราะผู้หญิงเป็นคนเกี้ยวผู้ชาย ไม่รักนวลสงวนกายกันเลย

สามบทต่อมาเป็นบทในเชิงสังวาส ไม่อยากจะจินตนาการเล้ยยย แต่ถ้าถามว่าบทอัศจรรย์ในน้ำตรงนี้ จอมยุทธฯ ชอบบทไหนมากที่สุด ก้อต้องบอกว่าบทที่ใช้ปลาเป็นสัญลักษณ์ขอรับงดงามและผุดผ่อง งามถึงขั้นจินตนาการเห็นภาพอันวิจิตรตระการ ขอบอกว่าสุดยอด
หลังเสร็จสมในสระน้ำก็ยกพลขึ้นบกอีก อะไรจะยอดเยี่ยมปานนั้น โคลงตรงนี้บอกไว้ว่า

๏ สรงสนุกน้ำแล้วกลับ..............สนุกบก เล่านาสองร่วมใจกันยก.....................ย่างขึ้นขึ้นพลางกอดกับอก..................พลางจูบสนุกดินฟ้าฟื้น.........................เฟื่องฟุ้งฟองกาม

เมื่อขึ้นมาในสวนก็ยังไม่ยอมเลิกอีก ดูโคลงอีกสัก ๒ บท

๏ สองนางนำแขกขึ้น................เรือนสวนปัดฟูกปูอาสน์ชวน...................ชื่นชู้สองสมพาสสองสรวล..............สองเสพย์สองฤดีรสรู้...........................เล่ห์พร้อมเพรียงกัน๏ เสร็จสองสมพาสแล้ว............กลกามสองอ่อนสองโอนถาม...............ชื่อชู้สองมาแต่ใดนาม.....................ใดบอก ราพ่อให้แก่สองเผือรู้.......................ชื่อรู้เมืองสอง

เสร็จกิจจึงจะถามชื่อ แหม......

และเหล่านี้ คือ ตัวอย่างบทอัศจรรย์ในวรรณคดี ถ้าผู้อ่านที่ไม่ใจเป็นศิลปะก็อาจมองได้ว่าเป็นเรื่องของความอนาจาร และไม่มียางอายของตัวละครในวรรคดี แต่เชื่อเถอะครับว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ ธรรมดาของมนุษย์ที่มิอาจปฏิเสธได้ ตรงนี้ต้องขอกล่าวไว้เลยว่ากวีหลายท่านพยายามใช้ "สัญลักษณ์" แทนสิ่งที่มิอาจกล่าวถึงได้ตรงๆ ได้อย่างงดงาม และมีศิลปะอย่างแท้จริง ซึ่งถ้าเราอ่านผ่านๆ อย่างไม่คิดอะไร หรือเป็นผู้ที่ไม่มีศิลปะในจิตใจ ก็อาจไม่สามารถรับรสวรรณคดีได้อย่างแท้จริง

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ยอดนักออกแบบแห่ง ศตวรรษ Herbert Matter



การเติบโตของการออกแบบกราฟฟิกสมัยใหม่ได้รวมผลงานต่างๆ อาทิ หน้าปกนิตยสาร บาฮามัสของเฮอร์เบิร์ธ บาเยอร์ โปสเตอร์ของอี แมคไนท์ คาฟเฟอร์ในเดลี เฮโรล์ดและปกหลังของอเล็กซานเดอร์ รอดเชนโค ซึ่งหลายๆ ผลงานต่างถูกมองและได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปะ
หนึ่งชุดจากตัวอย่าง: โปสเตอร์สัญลักษณ์ของเฮอร์เบิร์ธ แมทเทอร์สำหรับสำนักงานท่องเที่ยวแห่งสวิส (2478 - 79) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ขณะที่โปสเตอร์ถ่ายทอดสารของตนผ่านการทำภาพตัดต่ออย่างชำนาญเป็นผลสำเร็จ พวกมันอยู่เหนือความชั่วขณะผ่านการรวมความแสดงออกส่วนตัวที่แข็งแกร่ง การแสดงออกดังกล่าวที่พบได้ในการออกแบบสำคัญๆ ทั้งหมดมีความจำเป็นต่องานของแมทเทอร์
เฮอร์เบิร์ธ แมทเทอร์เป็นบุคคลที่สนับสนุนการพัฒนาภาพถ่ายและการออกแบบ ตลอดชีวิตการทำงานของเขาทำให้เขาเป็นบุคคลที่น่ายกย่องพอที่จะได้รับเหรียญของสถาบันศิลปะกราฟฟิกแห่งสหรัฐอเมริกาในปี 2526 (เขาได้รับรางวัลก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน)
หลายคนรู้จักกับงาน หรือความคิดของแมทเทอร์ น้อยกว่าการเป็นนักถ่ายแบบ/นักออกแบบในตัวเขา แม้ว่าเขาจะไม่มีชื่อเสียงก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะว่าแมทเทอร์เป็นคนที่ถ่อมตัวอย่างมากและไม่ทำตัวเสแสร้ง “การไม่วางท่าคือลักษณะเฉพาะของชายคนนี้” พอล แรนด์ เพื่อนเก่าแก่ที่รู้จักกันมานานถึง 40 ปีกล่าว ตลอดเวลาชีวิตสร้างสรรค์ของเขาอุทิศให้กับการช่องว่างแคบๆ ระหว่างวิตรศิลป์กับทัศนศิลป์ การกระทำคือสิ่งที่ดีที่สุดที่บอกผ่านผลงานได้ดีกว่าคำพูด
แมทเทอร์เกิดในปี 2450 ที่เมืองแองเจลเบิร์ก หมู่บ้านบนภูขาสวิส แหล่งแสดงของล้ำค่าหนึ่งในสองชุดสะสมศิลปะกราฟฟิกยุคกลางที่งดงามที่สุดในยุโรป ในปี 2468 เขาเข้าเรียนในโรงเรียนศิลปะ เดส โบซ ในเจนฟ์ แต่หลังจากสองปี ความเย้ายวนของลัทธิสมัยใหม่พาเขาสู่ปารีส ที่นี่นักศิลปะเข้าศึกษาที่อคาเดมี โมเดอเน (the Academie Moderne) ซี่งเป็นที่ๆ ทำให้แมทเทอร์ขยายขอบเขตความเป็นศิลปะมากขึ้น
ในยุโรประหว่างปลายศตวรรษที่ 20 และต้น 30 ขอบเขตความสร้างสรรค์ของการออกแบบกราฟฟิกไร้พรมแดน ช่างภาพได้รับอิทธิพลเกี่ยวกับการปฏิวัติ และแมทเทอร์เริ่มทดลองกับโรลเลอีในฐานะเครื่องมือการออกแบบและรูปแบบการแสดงออก – ความสัมพันธ์ไม่มีวันจบสิ้น ได้รับแรงบันดาลใจจากงานของเอล ลิสสิทซคายและแมน เรย์ แมทเทอร์ถูกวางแผนโดยการบันทึกภาพโดยวิธีทดลองทางสรีรวิทยา และอำนาจวิเศษของเทคนิคการปะติดปะต่อเศษชิ้นวัตถุต่างๆ และเทคนิคในการสร้างภาพปลอมที่เกิดจากรูปถ่ายหลายรูป โดยวิธีการซ้อนภาพ ในปี 2472 เขาเข้าสู่วงการออกแบบกราฟฟิกเต็มตัวเมื่อเขาได้รับการว่าจ้างในฐานะนักออกแบบและช่างภาพในงานของเดบเบอร์นีกับพีคอท เขาเรียนรู้ความแตกต่างกันเล็กน้อยของสีในการเรียงพิมพ์ขณะที่เขาเป็นผู้ช่วยเอ เอ็ม คาสสานดรูและเล คอรบุซิเออร์ ในปี 2475 เขาถูกขับออกจากฝรั่งเศส เพราะไม่มีเอกสารอย่างถูกต้อง เขาจึงกลับสวิสเซอร์แลนด์เพื่อดำเนินตามโชคชะตาของเขาต่อ
“ภูมิหลังจากเฮอร์เบิร์ธชวนให้หลงใหลและน่าอิจฉา” แรนด์กล่าว “เขาแวดล้อมไปด้วยกราฟฟิกดีๆ และเรียนรู้จากสิ่งที่ดีที่สุด” ดังนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าโปสเตอร์ที่มีชื่อเสียงนั่นที่ออกแบบให้กับสำนักงานท่องเที่ยวแห่งสวิสภายหลังจากการกลับมาของเขาจะมีความสวยงามและความรุนแรงของคาสสานดรูและความสมบูรณ์ทางเรขาคณิตของคอร์บู ซึ่งประสานกันเป็นมุมมองเฉพาะตน
แมทเทอร์ถูกเสนอให้เดินทางผ่านเข้าสู่สหรัฐแบบไปกลับ เพื่อเป็นค่าจ้างสำหรับงานของเขากับคณะละครบัลเลต์สวิส เขาพูดภาษาอังกฤาไม่ได้ แต่ก็ยังเดินทางข้ามไปยังสหรัฐ เมื่อการเดินทางสิ้นสุดลง เขาตัดสิดใจอยู่ต่อในนิว ยอร์ก เขามีเพื่อนทำงานอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ แมทเทอร์จึงเดินทางไปพบอเล็ซเซ่ บรอโดวิธ ผู้สะสมโปรเตอร์ท่องเที่ยวสวิส แมทเทอร์เริ่มต้นถ่ายภาพให้กับ ฮาร์เพอร์ซ บาซาร์ และ ซักซ์ ฟิฟธ อเวนิว ต่อมาเขาเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับห้องภาพถ่าย “สทิวดิโอ อะโซซีเอทซ์” ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงาน คอนเด นาส ซึ่งเป็นที่ๆ เขาผลิตหน้าปกและภายในให้กับนิตยสาร โวค
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แมทเทอร์ผลิตโปสเตอร์โจมตีให้สมาคมรถคอนเทรนเนอร์แห่งสหรัฐ ในปี 2487 เขากลายมาเป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบที่โนลมากกว่า 12 ปี อัลวิน ไอเซนแมน หัวหน้าแผนกการอกแบบที่เยลและเพื่อนตลอดชีวิต ชี้ว่า เฮอร์เบิร์ธมีความรู้สึกที่เข้มแข็งสำหรับรายละเอียดยิบย่อย และนี่ถือเป็นตัวอย่างอธิบายการเรียงพิมพ์จำเพาะที่เขาทำให้กับแค็ททาล็อกของโนล
ในปี 2495 ไอเซนแมนให้เขาเข้าทำงานที่เยลในฐานะศาสตรจารย์ด้านภาพถ่ายและการออกแบบกราฟฟิก “เขาเป็นครูที่น่าพิศวง” ไอเซนแมนกล่าว “รายชื่อนิสิตของเขาบางคนได้กลายมาเป็นบุคคลสำคัญๆ ที่มีชื่อในวงการ” ที่เยล เขาพิสูจน์ความสามารถด้านสถาปัตยกรรม พื้นที่สตูดิโอสำหรับการออกแบบในตึกที่ออกแบบโดยหลุยส์ คาน และพอล รูดอร์ฟ “เขาเก่งในทุกๆ ด้านที่เขาพยายามที่จะทำ” ไอเซนแมนกล่าวต่อ ในปี 2497 เขาได้รับมอบหมายให้สร้างสรรค์เอกลักษณ์เฉพาะของบริษัททางรถไฟนิว ฮาเวน โลโก้เอชเอ็นกับเส้นเล็กๆ ของตัวพิมพ์ที่ทำให้เด่นชัดที่มีอยู่ทุกหนแห่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์หนึ่งเดียวในสหรัฐอเมริกา
ความสัมพันธ์สำหรับยุคสมัยใหม่ การทดลองทางศิลปะและศิลปะนามธรรมยังคงชัดแจ้งเสมอมา ไม่เพียงแต่ในงานของแมทเทอร์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในงานของเพื่อนสนิทของเขาด้วย ในปี 2487 ทางพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ได้ขอให้เขากำกับภาพยนตร์ในเกี่ยวกับงานแกะสลักของเพื่อนสนิทและเพื่อนบ้านของเขา อเล็กซานเดอร์ คัลเดอร์ มันเป็นความพยายามทางภาพยนตร์ครั้งแรกของเขา แต่กระนั้นก็ตาม เนื่องจากความมีใจรักและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งอย่างที่นักศิลปะคนหนึ่งพึ่งมี ฟิล์มที่สมบูรณ์เป็นหนึ่งในฟิล์มที่ดีที่สุดในฟิล์มประเภทเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2501 ถึง 2511 เขาเป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบให้กับพิพธภัณฑ์กักเกนเฮล์ม ต่อมาเขาทำงานที่สตูดิโอของเกิร์ธทรูด แวนเดอร์บิว์ท วิทนี่ กับภรรยาของเขาในแมคโดกัล อัลเลย์ ระหว่างปลายห้าสิบกับต้นๆ หกสิบ เขาเป็นผู้มีส่วนร่วมในฉากศิลปะนิว ยอร์ก ร่วมกับแจ็คสัน โพลแล็ก วิลเลม เดอ คูนนิ่ง แฟงซ์ ไคน์ และฟิลิป กัสทอน ในปี 2503 เขาเริ่มถ่ายภาพงานแกะสลักของอัลเบอโต กีอาโคมเมททิ แต่ยังไม่ตีพิมพ์ออกมา เป็นโครงการที่แมทเทอร์ทำถึง 25 ปี และในปี 2521 เขาได้รับรางวัลจากมูลนิธิกักเกนเฮล์มสำหรับภาพถ่ายในปี 2523 ห้องแสดงภาพมาร์ลโบรูธเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับผลงานภาพถ่ายของแมทเทอร์ไว้ทั้งหมด




ช่วงสำคัญในชีวิตของเฮอร์เบิร์ธ แมทเทอร์

1907 * 2450 เกิดเมื่อวันที่ 25 เดือนเมษายน ในเมืองแองจลเบิร์ก สวิตเซอร์แลนด์
1925-1927 * 2468-2470 ศึกษาการวาดภาพที่อีโคล เดส โบซ อาร์ท ในเมืองจีนีวา
1928-1929 * 2468-2469 ศึกษากับเฟอร์นานด์ เลการ์ และอเมดี โอเซนฟานท์ ที่อเคดีมี โมเดอเน ในเมืองปารีส
1929-1932 * 2472-2475 ทำงานกับ เอ เอ็ม คาสสานดรู เกี่ยวกับการออกแบบโปสเตอร์ และ เลอ คอร์บุซซิเออร์ เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและการตกแต่งสำหรับนิทรรศการ ในเมืองปารีส
1930 * 2473 ออกแบบ ที รูม แมทเทอร์ ให้ครอบครัวของตนเองในเมืองแองเจลเบิร์ก โดยได้แรงบันดาลใจมาจากบาฮามัส และเอล ลิซซิทซกาย
1932-1935 * 2475-2478 กลับมาอยู่ที่เมืองซูริค เนื่องจากไม่มีเอกสารสิทธิ ทำงานเป็นช่างถ่ายภาพและนักออกแบบแผ่นพับและโปสเตอร์ให้กับสำนักงานท่องเที่ยวสวิส โดยใช้เทคนิคการปะติดปะต่อภาพแนวใหม่ *****
1935 * 2478 เดินทางไปยังสหรัฐในเดือนธันวาคม ถ่ายภาพการเดินทางของคณะละครสัตว์ในสหรัฐ และตัดสินใจพำนักอยู่ในเมืองนิว ยอร์ก
1936-1938 * 2479-2481 ทำงานเป็นช่างภาพอิสระให้กับ ฮาร์เพอร์ส บาซาร์ และ โวค ภายใต้การกำกับศิลป์ของอเล็กซี่ บรอดโดวิทธ ****
ตกแต่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ในเมืองนิว ยอร์ก
1939 * 2482 ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักออกแบบ สวิส เนชั่นแนล พาวิลเลียน ซึ่งร่วมมือกับนักสถาปนิกชาวสวิส วิลเลียม เลสเคซ ในงานแสดงสินค้า เมืองนิว ยอร์ก ปี 2482
วางแผนและออกแบบนิทรรศการคอร์นนิ่ง กลาซ พาวิเลียนในงานแสดงสินค้า เมืองนิว ยอร์ก ปี 2482
1941 * 2484 แต่งงานกับเมอร์ซิเดส คาร์เลซ
เริ่มทำงานด้านโปสเตอร์และโฆษณากับคอนเทรนนเนอร์ คอร์เพอร์เรชั่น แห่งสหรัฐ
1942 * 2485 ลูกชายอเล็กซานเดอร์ แมทเทอร์ลืมตาดูโลก
1943 * 2486 นิทรรศการภาพถ่ายมนุษย์คนแรก ณ ห้องแสดงภาพปิแอร์ เมทิซเซอ เมืองนิว ยอร์ก****
1943-1946 * 2486-2489 ทำงานกับชาร์ล และเรย์ เอียเมส ในเวนิกา รัฐแคลิฟอร์เนีย
ออกแบบหน้าปกและเค้าโครงให้กับจอห์น เอนเทนซา นิตยสารอาร์ทแอนด์อาชิเทคเจอร์ ****
1946 * 2489 กลับมายังเมืองนิว ยอร์ก
เริ่มความสัมพันธ์ 20 ปีกับบริษัทเฟอร์นิเจอร์นอลในฐานะที่ปรึกษาด้านการออกแบบและการโฆษณา
1946-1957 * 2483-2500 ทำงานในฐานะช่างภาพให้กับบริษัทผู้จัดพิมพ์คอนเด นาส
ร่วมงานกับสตูดิโอ อะโซซิเอทกับช่างภาพ เออร์วิง เพนน์ และริชชาร์ด อเวดอน
1948 * 2491 ออกแบบ อิน แอนด์ เอาท์ ออฟ โฟกัส นิทรรศการภาพถ่ายของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ในเมืองนิว ยอร์ก และงานของแมทเทอร์ก็ได้ร่วมแสดงในงานนี้ด้วย
1949-1950 * 2492-2493 กำกับและตัดต่อ เดอะ เวิร์ก ออฟ คาลเดอร์ ให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ภาพยนตร์สีชิ้นแรกเกี่ยวอเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ ซึ่งร่วมกันกับคาลเดอร์ และอเล็ก แมทเทอร์ และเขียนบทโดยจอห์น เคจ
1950-1955 * 2493-2498 ร่วมมือกับมูรา เดห์น ถ่ายและตัดต่อภาพยนตร์ขาวดำ เดอะ สปิริท มูฟส์ และ แดนซิ่ง วิธ เจมส์ เบอรี่ *****
1951-1960 * 2494-2503 ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักวิจารณ์ภาพถ่ายแห่งคณะศิลปะและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล ณ เมืองนิว ฮาเวน
1952-1955 * 2495-2498 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบของบริษัทรถไฟ นิว ฮาเวน *****
1952 * 2495 นิทรรศการ แมทเทอร์ แอท เวิร์ก ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปกรรม เวอร์จิเนีย ในเมืองริชมอนด์
1953-1968 * 2495-2511 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบของพิพิธภัณฑ์ โซโลมอน อาร์ กักเกนเฮล์ม เมืองนิว ยอร์ก รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งตีพิมพ์และป้ายโฆษณา
1955 * 2498 สร้างสัญลักษณ์และโปรแกรมการออกแบบให้กับบริษัทรถไฟบอสตัน แอนท์ เมน ออกแบบภาพถ่ายฝาผนัง อีสทรี ออฟ ไรท์ทิง ให้กับมาร์เซล บรูเออร์ และออกแบบห้องสมุดสาธารณะ กรอซเซ พ้อยท์ ******
ได้รับเกียรติยศจากสมาชิกในสหพันธ์ กราฟิค อินเทอร์เนชันเนล เมืองซูริค สวิตเซอร์แลนด์
1958 * 2501 ออกแบบจิตรกรรมฝาผนังที่ชั้น 5 อาคารซีเกรมในเมืองนิว ยอร์ก
1959 * 2502 เกิดเหตุเพลิงไหม้ทำลาย แมทเทอร์ ที รูม ณ เมืองแอลเจลเบิร์ก สวิตเซอร์แลนด์ เป็นงานแรกที่สูญเสียในเหตุเพลิงไหม้
1960-1979 * 2503-2522 ให้รายละเอียดในเรียงความภาพถ่ายเกี่ยวกับงานของอัลเบอร์โต กีอาโคเมททิ
1961-1967 * 2504-2510 ที่ปรึกษาด้านการออกแบบของพิพธภัณฑ์ศิลปะ เมืองอุสตัน
1961-1976 * 2504-2519 ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ด้านการออกแบบกราฟฟิก มหาวิทยาลัยเยล คณะศิลปะและสถาปัตยกรรมศาสตร์ เมืองนิว ฮาเวน
1962 * 2505 นิทรรศการภาพถ่ายและงานออกแบบกราฟฟิกของแมทเทอร์ ณ สถาบันศิลปะกราฟฟิกแห่งสหรัฐอเมริกา เมืองนิว ยอร์ก
1964 * 2507 ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวแห่งยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ เรื่อง เดอะ กันส์ ออฟ ออกัส (ผู้กำกับ: นาธาน ครอล)
1968 * 2511ผลิตและกำกับภาพยนตร์ทางการศึกษา 30 นาที ชื่อ เดอะ เวิร์ล เกมส์
1976 * 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณด้านการออกแบบและภาพถ่าย มหาวิทยาลัยเยล คณะศิลปะและอาชิเทคเทอร์ เมืองนิว ฮาเวน
1977 * 2520 ได้รับการเลือกให้อยู่ในสมาคมผู้กำกับศิลป์
1978 * 2521 นิทรรศการ เฮอร์เบิร์ธ แมทเทอร์ เอ เรทโทรซเปคทีฟ มหาวิทยาลัยเยล ห้องแสดงภาพศิลปะและสถาปัตยกรรม เมืองนิว ฮาเวน
นิทรรศการภาพถ่าย คันซทาส เมืองซูริค สวิตเซอร์แลนด์
1982 * 2525 ได้รับการเลือกเป็น รอยัล ดีไซเนอร์ ทู อินดัสทรี โดยรอยัล โซไซที ออฟ ดีไซเนอร์ ทู อินดัสทรี ณ เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ
1983 * 2526 ได้รับเหรียญทองสำหรับความประสบความสำเร็จในชีวิตจากสถาบันศิลปะกราฟฟิกแห่งสหรัฐอเมริกา
1984 * 2527 เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในวันที่ 8 เดือนพฤษภาคม ณ เซาท์เทมทัน ลอง ไอแลนด์
1986 * 2529 การตีพิมพ์หนังสือ อัลเบอร์โท กีอาโคเมททิ
1988 * 2531 นิทรรศการงานยุโรปยุคแรกของแมทเทอร์ เมืองซูริค สวิตเซอร์แลนด์ และออกหนังสือ เซห์ ฟอร์ เมน เดอ เซท ในหัวข้อเดียวกัน
1991 * 2534 นิทรรศการการออกแบบกราฟฟิกของเฮอร์เบิร์ธ แมทเทอร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ เมืองนิว ยอร์ก
2001 * 2544 เมอร์ซิเดส แมทเทอร์เสียชีวิตในวันที่ 4 เดือนธันวาคม ณ อีสเทมทัน ลอง ไอแลนด์


คำกล่าวของผู้จัดงานนิทรรศการการออกแบบกราฟฟิกของเฮอร์เบิร์ธ แมทเทอร์ในปี 1991

“งานจากการสร้างสรรค์สิ่งใหม่และการทดลองของนักออกแบบช่วยทำให้คำว่าการออกแบบกราฟฟิกยุคศตวรรษที่ 20 เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา” เฮดกล่าว การเกิดในสวิตเซอร์แลนด์และเริ่มต้นฝึกงานการวาดภาพ แมทเทอร์ทำงานในซูริคและปารีสก่อนย้ายเข้ามายังนิว ยอร์กในปี 2479 ลูกค้ารายแรกของเขาที่นิว ยอร์ก คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่และผู้พิมพ์ คอนเด นาส แมทเทอร์จะทำงานให้ลูกค้าและผู้ว่าจ้าง ซึ่งรวมถึงพิพิธภัณฑ์กักเกนเฮล์ม เฟอร์นิเจอร์นอล บริษัทรถไฟนิว ฮาเวน นิตยสารอาร์ทแอนด์อาชิเทคเจอร์และนักออกแบบชาร์ลและเรย์ เอียเมส ตั้งแต่ปี 2595 ถึง 2519 แมทเทอร์สอนที่มหาวิทยาลัยเยล ที่ซึ่งเขาได้ช่วยเปิดแผนกการออกแบบกราฟฟิกและภาพถ่ายของมหาวิทยาลัยขึ้น
เทคนิคการจัดวางองค์ประกอบ การเรียงพิมพ์และการพิมพ์ของแมทเทอร์ยังคงมีอิทธิพลต่อการออกแบบร่วมสมัย เฮดกล่าวว่าเทคนิคของแมทเทอร์กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายทางทัศนะที่เริ่มในปี 2473 เป็นต้นมา
แมทเทอร์ยังเป็นผู้บุกเบิกในเทคนิคการถ่ายภาพอย่างภาพอินฟราเรด การเปิดรับแสงหลายส่วน และการปะติดปะต่อเศษชิ้นวัตถุต่างๆ และแสดงให้ผู้ชมเห็นถึงกระบวนการทางศิลปะ องค์ประกอบของการผลิต เช่น การร่าง เค้าโครง การตัดออกบางส่วน ฯลฯ ปรากฏควบคู่กับผลผลิตสุดท้ายของแมทเทอร์
“นี่ไมใช่เป็นการทำในโฟโต้ชอป” เบคกี้ ฟิส์ชบาช นักศิลปะกราฟฟิกและนักออกแบบนิทรรศการแห่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกล่าว “นี่เป็นการทำในห้องมืด ด้วยรอย มีด และจินตนาการ”
ส่วนรูปผลงานนั้นสามารถเข้าไปดูได้ที่ http://arai-ear.blogspot.com/ ได้รวมผลงานไว้พร้อมให้ทุกคนได้ค้นคว้าแล้วครับ

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Herbet Matter



HERBET MATTER

Matter was born in 1907 in Engelberg, a Swiss mountain village, where exposure to the treasure of one of the two finest medieval graphic art collections in Europe was unavoidable. In 1925, he attended the Ecole des Beaux-Arts in Genf, but after two years, the allure of modernism beckoned him to Paris. There, the artist attended the Academie Moderne under the tutelage of Fernand Leger and Amédée Ozenfant. While the former became a close lifelong friend, both encouraged Matter to expand his artistic horizons.

แมทเทอร์เกิดในปี 2450 ที่เมืองแองเจลเบิร์ก หมู่บ้านบนภูขาสวิส แหล่งแสดงของล้ำค่าหนึ่งในสองชุดสะสมศิลปะกราฟฟิกยคกลางที่งดงามที่สุดในยุโรป ในปี 2468 เขาเข้าเรียนในโรงเรียนศิลปะ เดส โบซ ในเจนฟ์ แต่หลังจากสองปี ความเย้ายวนของลัทธิสมัยใหม่พาเขาสู่ปารีส ที่นี่นักศิลปะเข้าศึกษาที่อคาเดมี โมเดอเน (the Academie Moderne) ซี่งเป็นที่ๆ ทำให้แมทเทอร์ขยายขอบเขตความเป็นศิลปะมากขึ้น ....


นี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่เราจะนำเสนอ ยังมีเนื้อหาที่น่าสนใจของ
Herbert Matter
อีกมากมายที่เราพร้อมจะให้ทุกคนที่สนใจได้ค้นคว้า
โดย.........
ตุ๊งเหน่ง
เอียร์
จิ๊บ