วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

บทอัศจรรย์: ศิลปะของการแสดงออกทางเพศในวรรณคดี

อาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ ได้กล่าวไว้ในการบรรยายวิชาวรรณคดีวิจารณ์ ณ คณะอักษณศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า "วรรณคดี คือ เรื่องซึ่งเขียนขึ้นอย่างมีศิลปะของการนิพนธ์ เขียนขึ้นเป็นเรื่องราว มีความยาวทำให้เข้าใจเรื่องได้" ดังนั้น ข้อความซึ่งเป็นบทกลอน และมีเนื้อเรื่องพอเป็นที่เข้าใจ ประกอบไปด้วยศิลปะของการเรียบเรียงคำที่ทำให้เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ ก่อเกิดจินตนาการแก่ผู้อ่าน เราจึงจัดว่าเป็น "วรรณคดี" ด้วยกันทั้งสิ้น

วรรณคดีทุกเรื่องไม่ว่าจะกล่าวถึงสิ่งใด ก็จะกล่าวถึงสิ่งนั้นด้วยการใช้วรรณศิลป์ที่งดงาม ชวนให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกไปกับกวี ดังคำกลอนของสุนทรภู่ ที่ว่า

"เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตรลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์"

บทประพันธ์ข้างต้นนับว่าเป็นวรรณคดี เพราะให้ความรู้สึกลึกซึ้ง แสดงให้เห็นความใกล้ชิดของสุนทรภู่ที่มีต่อรัชกาลที่ 2 เมื่อสิ้นพระองค์ สุนทรภู่ก็พลอยสิ้นสุขไปด้วย เช่นเดียวกันกับเมื่อกล่าวถึงการสังวาสในวรรณคดี กวีก็จะกล่าวโดยใช้ถ้อยคำอย่างมีวรรณศิลป์ งดงามตามหลักของภาษา

การสังวาสในวรรณคดีไทยมักมีบทอัศจรรย์ แทรกอยู่ด้วย เรื่องความรักและเพศสัมพันธ์เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ในการพรรณนาฉากรักฉากพิศวาสของตัวละครหญิงชาย กวีไทยไม่นิยมกล่าวตรงไปตรงมา แต่จะกล่าวถึงโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบหรือใช้ สัญลักษณ์แทนบทนี้เรียกว่า “บทอัศจรรย์” กล่าวคือกวีใช้ธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์แทนการแสดงพฤติกรรมทางเพศ บทอัศจรรย์จึงเป็นบทที่ต้องใช้ความสามารถในการแต่ง เพื่อให้เป็นงานศิลปะมิใช่อนาจาร

แต่ก่อนอื่นที่เราจะลงลึกถึงความงามดังกล่าว ก็จะขอใช้เวลาเพียงเล็กน้อยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงคำว่า "บทอัศจรรย์" เสียก่อน นั่นคือ บทที่พระนางมีเพศสัมพันธ์กัน ซึ่งกวีแต่ละท่านจะมีลีลาในการนำเสนอ โดยใช้ภาษาและสิ่งสมมุติที่แตกต่างกัน บ้างก็ใช้ลักษณะของลมพายุ คลื่น ทะเล บ้างก็ใช้ผีเสื้อกับดอกไม้ ถือว่าเป็นการนำเสนอศิลปะอย่างหนึ่งของกวี เพราะกวีจะไม่นำเสนอแบบตรงไปตรงมา ผู้อ่านไม่สามารถแปลความตามตัวอักษรได้ ต้องอาศัยจินตนาการ ดังขอยกตัวอย่างจากบทอัศจรรย์ในขุนช้างขุนแผน พลายแก้วกับนางพิมพ์
"สนิทหลับรับขวัญเจ้าทั้งหลับ ดังยิ้มรับให้พี่มาร่วมหมอน
โฉมแฉล้มแย้มยิ้มพริ้มเพรางอน งามเนตรเมื่อเจ้าค้อนพี่ยามชม
คอคางบางแบบกระทัดรัด เล็กยาวขาวขัดดูงามสม
ไม่พร่องบกอกนางอล่างนม ค้อยผงมสงวนต้องประคองทรวง ๚"

"ประเดี๋ยวจับประเดี๋ยวจูบเฝ้าลูบชม แก้มกับนมนี่เจ้าชื้อมาหรือขา
ทำเล่นเหมือนเป็นเชลยมา ฟ้าผ่าเถอะไม่ยั้งไม่ฟังกัน
จะหยิกเท่าไรก็ไม่เจ็บ ฉวยเล็บมาจะหักให้สะบั้น
อุยหน่าอย่าทำสำคัญ ฟาดฟันเอาเถิดไม่น้อยใจ
ทำเล็บหักเหมือนไม่รักพี่จริงจัง ถึงเงินชั่งหนึ่งหารักเท่าเล็บไม่
เข้าชิดสะกิดพิมยิ้มละไม อุ้มแอบอกไว้ด้วยปรีดา ๚"

ต่อมาขอยกตัวอย่างบทอัศจรรย์ในเรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งนับว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่มีบทอัศจรรย์เป็นผู้ชาย 1 ผู้หญิง 2 นับว่าเป็นความแปลกในวรรณคดีไทยอย่างมาก จึงขอท้าวความเนื้อเรื่องเดิมเล็กน้อยก่อน เพื่อให้ผู้อ่านทั้งหลายเข้าใจ เรื่องเกิดขึ้นเมื่อพระลอ พร้อมพี่เลี้ยงนายแก้วนายขวัญ ตามไก่มาแล้วปลอมตัวหลบเข้าไปเที่ยวในสวนของเพื่อนแพงด้วยหัวใจระอุด้วยไฟรัก เพื่อนแพงรบเร้าให้นางรื่นนางโรยเดินทางไปตามหาพระลอที่สวน มาพบกับนายแก้วนายขวัญที่กำลังเล่นน้ำอยู่ในสระ ยังไม่ทันจะถามชื่อแซ่กันด้วยซ้ำเกี้ยวพาราสีอยู่ไม่นานก็ชวนกันเสพสังวาสในสระนั้นแล ในระหว่างเล่นน้ำในสระด้วยกันนั้น โคลงแต่ละบทเปรียบเทียบและใช้สัญลักษณ์ในทางสังวาสได้อย่างงดงามทุกโคลง ไม่เชื่อ ลองอ่านดู...

๏ นางโรยนางเรียกด้วย.............คำงามขวัญอ่อนดั่งขวัญกาม...............ยั่วแย้มใบบัวหนั่นหนาตาม...................กันลอด ไปนาหอมกลิ่นบัวรสแก้ม..................กลิ่นแก้มไกลบัว๏ ใบบัวบังข้าขอบ...................ใจบัวดอกดั่งจะหัวรัว......................เรียกเต้าเชยชมภิรมย์ชัว......................ซมซาบ บัวนาถนัดดั่งเรียมชมเจ้า.................พี่เหล้นกับตน

๏ บัวนมบัวเนตรหน้า...............บัวบานบัวกลิ่นขจรหอมหวาน..............รสเร้าบัวสมรละลุงลาญ....................ใจบ่า นี้นาบัวบาทงามจวบเท้า..................เกศแก้วงามจริง๏ โกมุศกาเมศแก้ว...................โกมล พี่เอยหอมกลิ่นจงกลกล...................กลิ่นแก้วจงกามินีปน...........................รสร่วม กันนาจงกอบอย่ารู้แคล้ว.................ก่อเกื้อกรีฑา๏ สรนุกบัวซ้อนดอก...............บัวพระ พี่นาปลาช่อนปลาไซ้พระ................ดอกไม้สลิดโพตะเพียนพะ..................กันชื่น ชมนารวนเพรียกแนมหลิ่งไสร้...........เหยื่อหย้ามฟูมฟอง๏ สนุกข้างนี้แนบ....................จอมใจ พี่เอยสองสนุกกันใน........................ฝ่ายนั้นทำขวัญสนุกใด.......................จักดุจ นี้เลยหนีซอกซอนซ้ำหั้น....................เชิดชู้เทียมรงค์

ต้องยกมาให้อ่านกันยาวๆ เพื่อก่อให้เกิดจินตนาการอันบรรเจิด แล้วลองมาไล่จินตนาการกันซักหน่อย โคลงสามบทแรกที่ยกมา เป็นการปูพื้นและเกี้ยวพาราสีก่อนที่จะเสพสังวาสกัน โดยการใช้บัวในสระที่ลงอาบน้ำด้วยกันเป็นสัญลักษณ์ ใช้ภาษาที่งดงามและยั่วเย้าให้เกิดอารมณ์ทางเพศสูงยิ่ง ถ้าได้อยู่ในสระน้ำตรงนั้น ใครเล่าจะอดใจไหวมีข้อสังเกตตรงนี้หน่อยหนึ่ง ตามท้องเรื่อง นางรื่นนางโรยไปพบนายแก้วนายขวัญนั้น พอปะหน้าก็เกิดความเสน่หายังไม่ทันจะถามไถ่ชื่อแซ่ด้วยซ้ำ บทสังวาสก็เริ่มต้น ทันสมัยจริงๆ เพราะผู้หญิงเป็นคนเกี้ยวผู้ชาย ไม่รักนวลสงวนกายกันเลย

สามบทต่อมาเป็นบทในเชิงสังวาส ไม่อยากจะจินตนาการเล้ยยย แต่ถ้าถามว่าบทอัศจรรย์ในน้ำตรงนี้ จอมยุทธฯ ชอบบทไหนมากที่สุด ก้อต้องบอกว่าบทที่ใช้ปลาเป็นสัญลักษณ์ขอรับงดงามและผุดผ่อง งามถึงขั้นจินตนาการเห็นภาพอันวิจิตรตระการ ขอบอกว่าสุดยอด
หลังเสร็จสมในสระน้ำก็ยกพลขึ้นบกอีก อะไรจะยอดเยี่ยมปานนั้น โคลงตรงนี้บอกไว้ว่า

๏ สรงสนุกน้ำแล้วกลับ..............สนุกบก เล่านาสองร่วมใจกันยก.....................ย่างขึ้นขึ้นพลางกอดกับอก..................พลางจูบสนุกดินฟ้าฟื้น.........................เฟื่องฟุ้งฟองกาม

เมื่อขึ้นมาในสวนก็ยังไม่ยอมเลิกอีก ดูโคลงอีกสัก ๒ บท

๏ สองนางนำแขกขึ้น................เรือนสวนปัดฟูกปูอาสน์ชวน...................ชื่นชู้สองสมพาสสองสรวล..............สองเสพย์สองฤดีรสรู้...........................เล่ห์พร้อมเพรียงกัน๏ เสร็จสองสมพาสแล้ว............กลกามสองอ่อนสองโอนถาม...............ชื่อชู้สองมาแต่ใดนาม.....................ใดบอก ราพ่อให้แก่สองเผือรู้.......................ชื่อรู้เมืองสอง

เสร็จกิจจึงจะถามชื่อ แหม......

และเหล่านี้ คือ ตัวอย่างบทอัศจรรย์ในวรรณคดี ถ้าผู้อ่านที่ไม่ใจเป็นศิลปะก็อาจมองได้ว่าเป็นเรื่องของความอนาจาร และไม่มียางอายของตัวละครในวรรคดี แต่เชื่อเถอะครับว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ ธรรมดาของมนุษย์ที่มิอาจปฏิเสธได้ ตรงนี้ต้องขอกล่าวไว้เลยว่ากวีหลายท่านพยายามใช้ "สัญลักษณ์" แทนสิ่งที่มิอาจกล่าวถึงได้ตรงๆ ได้อย่างงดงาม และมีศิลปะอย่างแท้จริง ซึ่งถ้าเราอ่านผ่านๆ อย่างไม่คิดอะไร หรือเป็นผู้ที่ไม่มีศิลปะในจิตใจ ก็อาจไม่สามารถรับรสวรรณคดีได้อย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น: